การออกแบบการวิจัย
1. การออกแบบการวิจัยเป็นการวางแผนเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการวิจัย
ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และคำถามการวิจัย
ซึ่งประเภทของการออกแบบการวิจัยที่นิยมนำมาใช้แบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่
- การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
- การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
- การอออกแบบการวิจัยผสมผสาน
2. ขอบข่ายของการออกแบบการวิจัย ประกอบด้วย
- การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง
- การออกแบบการวัดตัวแปร
- การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล
3. การวางแผนการวิจัยเกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงการวิจัยทั้งในส่วนของกระบวนการวิจัย
และในส่วนของการบริหารโครงการวิจัย นอกจากนี้ยังพิจารณาคุณค่าของงานวิจัย ความซับซ้อนของการทำวิจัย และความสามารถในการหาข้อมูลสนับสนุนอีกด้วย
รูปแบบการวิจัย
1. การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
เป็นการออกแบบการศึกษาวิจัยที่มีลำดับขั้นตอนค่อนข้างเข้มงวดตายตัว โดยมุ่งเน้นรวบรวมข้อมูลหลักฐานเชิงปริมาณ โดยอาศัยการวัดตัวแปรต่างๆ จากตัวอย่างที่สุ่มมาจากประชากรให้ออกมาอยู่ในรูปแบบของตัวเลขที่สามารถแจงนับได้
2. การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นการออกแบบศึกษาวิจัยที่มีลักษณะยืดหยุ่นรวมทั้งเป็นพลวัต มีการปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในระหว่างการวิจัย โดยมีจุดมุ่งเน้นเพื่อการทำความเข้าใจ การตีความให้ออกมาอยู่ในรูปแบบของข้อความ/ภาพ หรือสัญลักษณ์
3. การออกแบบวิจัยแบบผสมผสาน
เป็นการออกแบบการวิจัยที่ผสมผสานวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพเข้าด้วยกัน
นางสาวสกาวรัตน์ สีงาม รหัส 5641060125 รุ่น 56/12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น