หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประวัติส่วนตัว







นางสาวสกาวรัตน์     สีงาม


รหัสนักศึกษา  5641060125

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป รุ่น 56/12

 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

สมาชิก




นางสาวปิยะวดี             คุ้มนาเรียง            5641060103

นางสาวสกาวรัตน์         สีงาม                   5641060125

นายพัชรภูมิ                 จันทร์ภู่                5641060147

นางสาวรสริน              เพชรดี                 5641060171

นางสาวกชพรรณ         คำผุย                   5641060173

นางสาวเกษสุดา           เพลาวัน                5641060180

11.วิจัย



ดาวน์โหลดไฟล์วิจัย





นางสาวสกาวรัตน์        สีงาม    รหัส 5641060125  รุ่น 56/12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 



วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

10.แผนการจัดการเรียนรู้แบบ DRU Model


แผนการจัดการเรียนรู้ ชีววิทยา ม.4




นางสาวสกาวรัตน์        สีงาม    รหัส 5641060125  รุ่น 56/12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 

9.การเปรียบเทียบรูปแบบการสอน


     การสอนในรูปแบบเดิมหรือโดยทั่วไปจะแบ่งขั้นตอนการสอนออกเป็น 3 ขั้นตอน
          คือ   1. ขั้นนำ
                  2. ขั้นสอน
                  3. ขั้นสรุป
แต่ละรูปแบบการสอนแต่ละแบบ มีวิธีการสอนที่แตกต่างกันออกไป เราไม่สามารถกล่าวสรุปได้ว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุด
     หากนำมาเปรียบเทียบกับการจัดการสอนแบบใหม่ DRU Model ที่เป็นรูปแบบที่พัฒนามากจากรูปแบบเดิม เพื่อนำมาใช้พัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับรายวิชาและผู้เรียนมากขึ้น
     ตัวอย่างเช่น รูปแบบการสอนแบบ  DRU Model



                               








นางสาวสกาวรัตน์        สีงาม    รหัส 5641060125  รุ่น 56/12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 


8.มาตรฐานบัณฑิตตามมาตรฐานคุรุสภา


มาตรฐานบัณฑิตตามมาตรฐานคุรุสภา


มาตรฐานครุสภา
การเรียนวิชาพัฒนารูปแบบการสอนวิทย์

1.ความเป็นครู

คุณลักษณะของครูที่ดี เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูจากการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต้องคำนึงถึงวิธีการเรียนรู้ ความสนใจและความสามารถของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง


2.ปรัชญาการศึกษา

-พฤติกรรมนิยม
          การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
-ปัญญานิยม
          การจัดการเรียนรู้ เหมาะสมกับสติปัญญาของผู้เรียน
-มนุษย์นิยม
          การคิดแบบอิสระ กล้าแสดงที่จะแสดงความคิดเห็น
-สรรค์สร้างนิยม
          การเรียนรู้เป็นทีม การนำข้อผิดพลาดของตัวเองมาเป็นบทเรียน ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้


3.ภาษาและวัฒนธรรม

ใช้ภาษาที่เรียบง่าย ไม่เป็นทางการ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนไม่ซับซ้อน วัฒนธรรมจะเปิดรับอย่างอิสระโดยผ่านการไตร่ตรองให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน


4.จิตวิทยาสำหรับครู

เป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้กับผู้เรียนและพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล


5.หลักสูตร

พัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลาย และประเมินหลักก่อนและหลังการใช้หลังสูตร


6.การวัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

มีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการชั้นเรียนร่วมถึงการสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ


7.การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

การวิจัยสามารถทราบถึงปัญหา และนำไปแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของผู้เรียน


8.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ


9.การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

การวัดและการประเมินผลเป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลตามความเป็นจริงเมื่อเกิดข้อผิดพลาด สามารถปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาต่อไปได้


10.การประกันคุณภาพการศึกษา

เป็นการประกันคุณภาพที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนได้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์


11คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ

รู้จักแยกแยะความถูกผิด มีเหตุผล รู้จักแบ่งปันความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนร่วม






นางสาวสกาวรัตน์        สีงาม    รหัส 5641060125  รุ่น 56/12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 





วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

7.3 รูปแบบการสอนแบบ DRU Model




DRU Model


การจัดการศึกษามี 3  รูปแบบดังนี้              

     1. การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน                                                  

     2. การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกล                                                                                                                                                                 
     3. การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล  ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ
                 
                 ด้านความรู้ (Knowledge)  กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง

                 ด้านผู้เรียน (Learner)  กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

                 ด้านสังคม (Society) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับ      ผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา

จากรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต  จะสอดคล้องกับแนวความคิดของไทเลอร์ ขั้น จะได้สามเหลี่ยม  ภายในวงกลมสี่รูป  ได้แก่
1.สามเหลี่ยมแรก การวางแผน ( Planning) อาศัยแนวคิดพัฒนาหลักสูตรของ ไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร กำหนดจุดหมายหลักสูตร

2. สามเหลี่ยมรูปที่สอง การออกแบบ (Design) นำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนอง  จุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

3.สามเหลี่ยมรูปที่สาม การจัดระบบหลักสูตร (Organize) จัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สองคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงการบริหารที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้  และรวมถึงการนิเทศการศึกษา

4.สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Evaluation) ประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร


  P = Planning (การวางแผน)                             C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
  D = Design  (การออกแบบและการพัฒนา)    A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ)
  M = Management (การจัดการ,การควบคุม)   L = Learning (การเรียนรู้)
  S = Strategic network (กลวิธี)                       A = Assessment (การประเมินค่า)   
  E = Evaluation  (การประเมินผล)

 จากรูปด้านดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นดังนี้

                 สามเหลี่ยมรูปที่ 1
                       ามเหลี่ยม (D) การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้    
                 จะนำไปสู่  ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
                       1. P = Planning  (การวางแผน)
                       2. D = Design  (การออกแบบและการพัฒนา)
                       3. C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                       4. A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วม
วิชาชีพ)



                 สามเหลี่ยมรูปที่  2
                              สามเหลี่ยม (R) ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนด
                 สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอน
                 การจัดการเรียนรู้ดังนี้
                        1. C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                        2. L = Learning (การเรียนรู้)
                        3. M = Management (การจัดการ,การควบคุม) 
                        4. S = Strategic network  (กลวิธี)


           สามเหลี่ยมที่  3
                 สามเหลี่ยม (U) การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL 
           เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอน
           การจัดการเรียนรู้ดังนี้
                 1. A = Assessment (การประเมินค่า)
                 2. S = Strategic network  (กลวิธี)
                 3. A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วม
วิชาชีพ)          
                 4. E = Evaluation  (การประเมินผล)


          
             จากขั้นตอนการจัดรูปแบบการเรียนรู้  จะเห็นได้ว่า  การจัดรูปแบบการเรียนรู้ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน
โดยมีการวางแผน  การออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อใช้เป็นแบบแผนหรือแนวทางในการปฏิบัติการเรียนการสอนเพื่อให้
บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้เฉพาะ ซึ่งจะนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อกำหนดลักษณะขององค์ประกอบการเรียนรู้  นำวิธีการเชิงระบบมาจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการเรียนรู้  และสามารถปรับใช้ให้เหมาะสม





นางสาวสกาวรัตน์        สีงาม    รหัส 5641060125  รุ่น 56/12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 

7.2 รูปแบบการสอนแบบ LRU Model




LRU Model



การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์



รูปแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา มีชื่อว่า LRU Model มี 3 ขั้นตอน คือ 

1) การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ (L) 

2) การวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (R) 

3) การใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินพัฒนาการเรียนรู้ (U)





นางสาวสกาวรัตน์        สีงาม    รหัส 5641060125  รุ่น 56/12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 

7.1 รูปแบบการสอนแบบ SU Model



SU Model

 SU MODEL คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1) พื้นฐานทางปรัชญา 2) พื้นฐานทางจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานทางสังคม โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่

·      ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
·      ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
·      ด้านสังคม จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
                ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองด้านผู้เรียน ด้านสังคมและด้านความรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ พื้นฐานทางสังคม พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญาและภายในสามเหลี่ยมการศึกษาจะประกอบด้วยสามเหลี่ยมเล็กๆภาพ ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรของTyler โดยประกอบด้วย ขั้นตอน ดังนี้
           ขั้นตอนที่ 1คือ การวางแผน (Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และจะสอดคล้องกับคำถามที่หนึ่งของไทเลอร์ คือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
                   ขั้นตอนที่ 2 คือ การออกแบบ (Design) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพราะว่าหลักสูตรต้องออกแบบมา เพื่อให้จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่นักเรียน
                   ขั้นตอนที่ 3 คือ การจัดการหลักสูตร (Organize) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner), ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เพราะว่าการจัดการหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพ คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคม
                   ขั้นตอนที่ 4 คือ การประเมิน (Evaluate) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม






นางสาวสกาวรัตน์        สีงาม    รหัส 5641060125  รุ่น 56/12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 

ุ6. การออกแบบการวิจัยและรูปแบบการวิจัย



การออกแบบการวิจัย


     1. การออกแบบการวิจัยเป็นการวางแผนเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการวิจัย
ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และคำถามการวิจัย

     ซึ่งประเภทของการออกแบบการวิจัยที่นิยมนำมาใช้แบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่

          - การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ

          - การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ

          - การอออกแบบการวิจัยผสมผสาน

     2. ขอบข่ายของการออกแบบการวิจัย ประกอบด้วย

          - การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง

          - การออกแบบการวัดตัวแปร

          - การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล

     3. การวางแผนการวิจัยเกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงการวิจัยทั้งในส่วนของกระบวนการวิจัย 
และในส่วนของการบริหารโครงการวิจัย นอกจากนี้ยังพิจารณาคุณค่าของงานวิจัย ความซับซ้อนของการทำวิจัย และความสามารถในการหาข้อมูลสนับสนุนอีกด้วย






รูปแบบการวิจัย


     1. การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ

          เป็นการออกแบบการศึกษาวิจัยที่มีลำดับขั้นตอนค่อนข้างเข้มงวดตายตัว โดยมุ่งเน้นรวบรวมข้อมูลหลักฐานเชิงปริมาณ โดยอาศัยการวัดตัวแปรต่างๆ จากตัวอย่างที่สุ่มมาจากประชากรให้ออกมาอยู่ในรูปแบบของตัวเลขที่สามารถแจงนับได้

     2. การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ

          เป็นการออกแบบศึกษาวิจัยที่มีลักษณะยืดหยุ่นรวมทั้งเป็นพลวัต มีการปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในระหว่างการวิจัย โดยมีจุดมุ่งเน้นเพื่อการทำความเข้าใจ การตีความให้ออกมาอยู่ในรูปแบบของข้อความ/ภาพ หรือสัญลักษณ์

     3. การออกแบบวิจัยแบบผสมผสาน

          เป็นการออกแบบการวิจัยที่ผสมผสานวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพเข้าด้วยกัน





นางสาวสกาวรัตน์        สีงาม    รหัส 5641060125  รุ่น 56/12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

5. การทดลองใช้การวิจัยในชั้นเรียน






          1.       Pre Test
-         สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
-         ตั้งปัญหาที่จะศึกษา
          2.       ตั้งสมมติฐาน
          3.       เลือกใช้รูปแบบการพัฒนา (K, A, P)
          4.       Port Test

-         สรุปผลการตั้งสมมติฐาน (ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือไม่)



นางสาวสกาวรัตน์        สีงาม    รหัส 5641060125  รุ่น 56/12
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี